เมนู

ภิกษุนั้น. ก็บรรดาสันโดษ 3 ในปัจจัยเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ นี้ ยถา-
สารุปปสันโดษเป็นเลิศ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6 - 7



ในสูตรที่ 6 - 7 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
อโยนิโสมนสิการ และโยนิโสมนสิการ มีลักษณะดังกล่าว
แล้วในหนหลัง และคำที่เหลือในสูตรนี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 6 - 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ในสูตรที่ 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสมฺปชญฺญํ ได้แก่ ความไม่รู้ตัว. คำว่า
อสมฺปชญฺญํ นี้ เป็นชื่อของโมหะ. บทว่า อสฺปชานสฺส ได้แก่ ผู้ไม่
รู้ตัว คือผู้หลง.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺปชญฺญํ ได้แก่ ความรู้ตัว. บทว่า สมฺปชญฺญํ นี้เป็น
ชื่อแห่งปัญญา. บทว่า สมฺปชานสฺส ได้แก่ผู้รู้ตัวอยู่.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 9

อรรถกถาสูตรที่ 10



ในสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปาปมิตฺตตา ความว่า มิตรชั่ว คือลามก มีอยู่แก่ผู้ใด
ผู้นั้นชื่อว่ามีมิตรชั่ว. ความมีมิตรชั่ว ชื่อว่า ปาปมิตตตา
ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว. คำว่า ปาปมิตตตา นี้ เป็นชื่อของขันธ์ 4
ที่เป็นไปโดยอาการนั้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ในบรรดา
ธรรมเหล่านั้น ความเป็นผู้มีมิตรชั่วเป็นไฉน ? บุคคลเหล่าใด เป็น
ผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีสุขน้อย เป็นผู้ตระหนี่ เป็นผู้มี
ปัญญาทราม การเสพ การอาศัยเสพ การส้องเสพ การคบหา
การสมคบ ความภักดี ความจงรัก บุคคลเหล่านั้น ความมีบุคคลเหล่านั้น
เป็นเพื่อนนี้ เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 10
จบ อรรถกถาวิริยาภัมภาทิวรรคที่ 7